ทำความรู้จักกับรถยนต์แต่ละประเภท

รถยนต์แต่ละประเภท

ทุกวันนี้เรื่องของการขับขี่รถราเป็นอะไรที่เราจะต้องใช้งานกันอยู่ในชีวิตประจำวัน ซึ่งก็มีรถมากมายหลายประเภทให้ได้เลือกใช้งานตามความเหมาะสมและความสะดวก แต่ทุกๆ ท่านทราบกันหรือไม่ครับว่า รถยนต์ที่เราขับๆ กันนั้น ถูกแบ่งออกกันเป)นกี่ประเภทกัน วันนี้เราจึงอยากอาสาพาทุกๆ ท่านไปค้นหาคำตอบและ “ทำความรู้จักกับรถยนต์แต่ละประเภท” กันสักหน่อยครับ เพื่อเป็นการเสียเวลา เราไปดูกันดีกว่าครับ

รถยนต์เป็นอย่างไร?

รถยนต์ หมายถึง ยานพาหนะทางบกที่ขับเคลื่อนที่ด้วยพลังงานอย่างใดอย่างหนึ่งและถ่ายทอดลงสู่ล้อ เพื่อพาผู้ขับ ผู้โดยสาร หรือสิ่งของ ไปยังจุดหมายปลายทาง ปัจจุบัน รถยนต์โดยส่วนมากได้รับการออกแบบอย่างซับซ้อนในทางวิศวกรรม และหลากหลายประเภท ตามความเหมาะสมของการใช้งาน หรือใช้สำหรับงานเฉพาะกิจนั้นๆ ครับ

5 ประเภทของรถยนต์ที่น่าสนใจ

รถกระบะ (Pickup)

รถกระบะ หรือรถปิกอัพ ค่อนข้างมีความชัดเจนในเรื่องของการแบ่งแยกประเภทรถ เพราะมีส่วนโดยสารกับกระบะด้านท้าย  ส่วนจะเป็นแบบตอนเดี่ยว 2 ประตู 2 ที่นั่ง ตอนครึ่ง 2 ประตู (แค็บ) 2 ที่นั่ง หรือสองตอน 4 ประตู (ดับเบิ้ลแค็บ) ก็แบ่งกันไปตามลักษณะการใช้งาน เพราะปัจจุบันรถกระบะไม่ได้ถูกนำมาใช้เพื่อการพาณิชย์เพียงอย่างเดียว แต่รถกระบะได้รับการออกแบบให้สามารถใช้แทนรถเก๋งเป็นรถโดยสารส่วนบุคคลอย่างแพร่หลาย โดยมีข้อดี คือ ในราคาเดียวกับรถเก๋ง จะได้รถขนาดใหญ่กว่า สมรรถนะสูงกว่า ประหยัดน้ำมัน ขนของได้ โดยสารได้ กำลังสูง ทนทาน แต่ต้องแลกกับความเทอะทะ ความนุ่มนวลขณะเดินทาง และปล่อยมลพิษสูงกว่า เป็นต้น ส่วนตัวอย่างรถกลุ่มนี้ก็ คือ Isuzu D-Max, Toyota Hilux Revo และ Ford Ranger 

ซีดาน (Sedan)

เป็นหนึ่งในรูปแบบตัวถังที่คุ้นชินและเคยเป็นที่นิยมมากที่สุดแบบหนึ่งในฐานะรถครอบครัว  โดยจุดเด่นของรถรุ่นนี้ คือ การเป็นรถทรง 3 กล่อง มีส่วนหัว ห้องโดยสาร และท้ายรถแยกออกจากกัน ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นรถ 4 ประตู  ขณะที่ขนาดตัวถังจะมีขนาดหลากหลายตั้งแต่เล็กถึงใหญ่ อีกทั้งยังครอบคลุมทั้งรถธรรมดาทั่วไปจนถึงรถหรู ซึ่งคนไทยจะเรียกรถประเภทนี้ว่ารถเก๋ง ตัวอย่างของรถซีดาน อาทิ Honda City, Honda Civic, Toyota Camry และ Honda Accord เป็นต้น

แฮตช์แบ็ก (Hatchback)

เป็นรถยนต์นั่งทรง 2 กล่อง มีแค่ส่วนห้องเครื่องกับห้องโดยสาร โดยไม่มีท้ายรถยืนออกมาแบบซีดาน หรือนิยมเรียกกันว่าท้ายตัด บานฝาท้ายเปิดยกขึ้นด้านบนเหมือนเปลือกหอย อันเป็นที่มาของชื่อแฮตช์แบ็ก (Hatchback) มีทั้งแบบ 3 ประตู และ 5 ประตู ซึ่งรวมจำนวนฝาท้ายเข้าไปด้วย ส่วนประโยชน์ของรถแฮตช์แบ็ก คือ ขนาดกะทัดรัด นอกจากนี้การเปิดฝาท้ายแบบแฮตช์แบ็กทำให้ใส่ของที่มีขนาดใหญ่หรือมีความสูงได้สะดวกกว่าแบบซีดาน ซึ่งมักมาพร้อมกับฟังก์ชันพับเบาะหลังเพื่อเพิ่มพื้นที่ขนของได้ด้วย เช่น Toyota Yaris, หรือ Honda City Hatchback

สเตชั่นแวกอน (Station Wagon)

เป็นรถที่มีความคล้ายกับรถแฮตช์แบ็ก แต่จะมีส่วนท้ายที่ยื่นยาวมากกว่า และอาจใช้ชื่อแตกต่างกันไปตามภูมิภาค หรือผู้ผลิต เช่น Station Wagon, Estate, Touring, Break หรือ Combi เป็นต้น  ซึ่งทั้งหมดออกแบบมาเพื่อประโยชน์ใช้สอยในเรื่องของพื้นที่สัมภาระหรืออุปกรณ์ได้ครั้งละมาก ๆ จึงได้รับความนิยมในฐานะรถของครอบครัว ก่อนที่รถประเภท SUV จะเกิดขึ้นและครองตลาดจากความสามารถในการขับขี่ได้ทุกสภาพถนน โดยตัวอย่างรถในกลุ่มนี้จะมี MG ES, Volvo V60 Recharge เป็นต้น

รถเอสยูวี (SUV)

รถอเนกประสงค์ SUV หรือ Sport Utility Vehicle ซึ่งความหมายตรงตัว คือ รถอเนกประสงค์สำหรับกิจกรรมสันทนาการ เป็นคำที่กว้างกว่า Crossover SUV เนื่องจากหลายรุ่นไม่ได้ใช้พื้นฐานร่วมกับรถยนต์นั่ง บางรุ่นใช้ตัวถัง Monocouqe และบางรุ่นอาจเป็นตัวถังวางบนแชสซีส์ หรือ Body on Frame ก็ได้ไม่มีข้อกำหนดตายตัว แต่ทั้งหมดจะเป็นรถอเนกประสงค์ยกสูงที่มาพร้อมความสามารถในการบุกลุย ส่วนจะมากน้อยขึ้นอยู่กับหลายปัจจัยขึ้นอยู่กับผู้ผลิต รวมถึงขนาดก็มีได้หลากหลาย เช่น Suzuki Jimny หรือ Tank 300 เป็นต้น

และนี้ก็คือข้อมูลเกี่ยวกับ “ทำความรู้จักกับรถยนต์แต่ละประเภท” ที่เราอาจจะเคยเรียกติดปากแต่ไม่เคยรรู้ที่มาที่ไปนั้นเองครับ ทุกๆ ท่านก็คงจะเข้าใจกันมากขึ้นกันแล้วนะครับ

About the Author

You may also like these